=

เสาชิงช้าและโบสถ์พราหมณ์ (101)

Share

Copied
  • ข้อมูล
ในเมืองใหญ่ เช่น อยุธยา นครศรีธรรมราช และกรุงเทพฯ ความเชื่อที่เกี่ยวกับพราหมณ์และฮินดู มีบทบาทในประเพณีพิธีกรรมของบ้านเมืองและราชสำนักอย่างสม่ำเสมอ จนมีการกำหนดให้มีสถานที่เพื่อใช้ประกอบพิธีอย่างเป็นรูปธรรมมาช้านาน ดังที่ชาวเมืองครั้งกรุงศรีอยุธยาเรียกว่า เสาชิงช้าหน้าโบสถ์พราหมณ์ เป็นสถานที่ประกอบด้วย เสาชิงช้า วิหารพระอิศวร และวิหารของพระนารายณ์เป็นสำคัญ ซึ่งสถานที่ดังกล่าวนี้ยังเห็นอยู่ครบครันที่เมืองนครศรีธรรมราช

เสาชิงช้ามีไว้เพื่อให้พราหมณ์โล้ชิงช้าถวายพระเป็นเจ้าได้ทอดพระเนตรเพื่อแสดงความภักดี และขอบพระคุณที่เสด็จมาเยือนโลกมนุษย์ในแต่ละปี โบสถ์พราหมณ์หรือวิหารพระเป็นเจ้ามีสองหลัง คือ วิหารพระอิศวรผู้เป็นเทพเจ้าแห่งการทำลายโลกและสร้างโลก กับพระพิฆเนศผู้เป็นโอรสที่เป็นเทพเจ้าแห่งสรรพศิลปวิทยาการและการขจัดอุปสรรคนานาประการโบสถ์หนึ่ง อีกโบสถ์หนึ่งคือวิหารของพระนารายณ์ เทพเจ้าผู้ปราบยุคเข็ญและรักษาโรค การรับเสด็จและส่งเสด็จพระเจ้าทั้งสองสถานที่นี้ไม่พร้อมกัน พระอิศวรเสด็จมาก่อนและกลับก่อน ซึ่งจะกลับไปภายหลังพิธีโล้ชิงช้าแล้ว ประเพณีนี้เป็นพระราชพิธีหลวง ซึ่งปรากฏอยู่ในพระราชพิธีสิบสองเดือนของราชอาณาจักรเรียกว่า พระราชพิธีตรียัมปวาย เป็นพระราชพิธีที่กระทำขึ้นเพื่อความสุขสมบูรณ์ของบ้านเมือง และเป็นการนักขัตฤกษ์ของราชสำนักและประชาราษฎร์

สถานที่ตั้ง เสาชิงช้าและโบสถ์พราหมณ์ (101)

สถาปัตยกรรมใกล้เคียง