=

ศาลาฤษีดัดตน (103)

Share

Copied
  • ข้อมูล
ศาลาฤษีดัดตน ตำราฤษีดัดตนเป็นตำราในเรื่องการรักษาสุขภาพที่มีอยู่ในสังคมไทยมาช้านาน ถ่ายทอดผ่านชั่วอายุคน โดยการเขียนหรือคัดลอกไว้ในสมุดข่อย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการสร้างเป็นรูปปั้นฤๅษีดัดตนด้วยดีบุก แสดงไว้ตามเขามอในวัดโพธิ์ อันเป็นอาศรมทางวิทยาการเพื่อการศึกษาของคนในรุ่นหลังต่อมา แต่บางแห่งก็มีการเขียนเป็นภาพไว้ตามฝาผนังหรืออาคาร ดังเช่นที่วัดมัชฌิมาวาส เมืองสงขลา เป็นต้น เพราะของเดิมได้สูญหายไปหรือกระจัดกระจายไปอย่างไม่มีผู้นำพา ในที่นี้จึงรวบรวมท่าดัดตนต่างๆ ของฤๅษีครบ ๘๐ กระบวนท่าตามตำราอย่างสมบูรณ์ นำมาไว้ ณ ศาลาโถง โดยมีทั้งรูปปั้นฤๅษีและคำบรรยายสรรพคุณของแต่ละท่าเพื่อให้เป็นที่ฝึกฝนของบุคคลผู้สนใจต่อไป

สถานที่ตั้ง ศาลาฤษีดัดตน (103)

สถาปัตยกรรมใกล้เคียง